ประกาศ

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่Bloggerของ นายกฤษณภัทร คุณล้าน 59010512007 คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ติวเข้มหน้าที่ของพลเมืองดี


หน้าที่ของพลเมืองดี
ความหมายของพลเมืองดี
พลเมือง หมายถึง พละกำลังของประเทศ ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของประเทศนั่นเอง ต่างจากชาวต่างด้าวเข้าเมือง ชาวต่างประเทศนี้เข้ามาอยู่ชั่วคราว
พลเมืองมีความหมายต่างจากบุคคล ซึ่งหมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศใด ย่อมหมายถึงบุคคลทั้งหลายที่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ตามกฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น เมื่อกล่าวถึงพลเมืองของประเทศไทยย่อมหมายถึงคนทั้งหลายที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายไทย
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมือง และมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
หน้าที่ของพลเมืองดี
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น

พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของศาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หน้าที่พลเมืองตามแนวทางพุทธศาสนา

หน้าที่พลเมืองตามแนวทางพุทธศาสนา
มนุษย์นับว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และมีความสำคัญมากที่สุดในโลก เพราะมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สามารถเรียนรู้และรับการฝึกอบรม
สั่งสอน จนสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นคุณประโยชน์ต่อโลกได้ ในการเรียนรู้และการฝึกอบรมเพื่อสะสม
ประสบการณ์ชีวิต มนุษย์ควรได้รับการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมไปด้วยพร้อม ๆ กัน เพราะคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญต่อการ
ดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนเป็นอย่างมาก

หน้าที่ของพลเมืองดี
          พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
          หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตน
เอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวม
          จริยธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย
          คุณธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น
          ศีลธรรม หมายถึง หลักในการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเสียหาย พร้อมกันนั้นก็สร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นด้วย
คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี
          ๑. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
          ๒. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
          ๓. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
          ๔. ความซื่อสัตย์สุจริต
          ๕. ความสามัคคี
          ๖. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
          ๗. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
          ๘. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ

จริยธรรมของการเป็นพลเมืองดี
          คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
          ๑. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลัก
ศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
          ๒. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
          ๓. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
          ๔. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
          ๕. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
          ๖. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่พลเมืองตามแนวทางพุทธศาสนา ควรประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ
๑. คารวธรรม หมายถึง การมีความเคารพซึ่งกันและกัน การประพฤติตนเป็นผู้มีคารวธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. เคารพบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะบิดามารดาซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิด เคารพญาติผู้ใหญ่ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้สูงอายุ เคารพครู
อาจารย์ และเพื่อน ๆ โดยแสดงความเคารพและกล่าวคำทักทายด้วยคำสุภาพ
          ๒. เคารพกฏระเบียบทางสังคม เช่น ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของสังคม ปฏิบัติตามกฏหมายของประเทศ
          ๓. เคารพสิทธิของผู้อื่น เช่น ไม่ทำร้ายผู้อื่นโดยเจตนา ไม่เอาทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสีย
ชื่อเสียง เป็นต้น
          ๔. เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เช่น ควรฟังความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยความตั้งใจและไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ และไม่ควร
ยึดถือความคิดเห็นของตนว่าถูกเสมอไป
          ๕. เคารพและเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่สำคัญสูงสุดของประเทศ

๒. สามัคคีธรรม หมายถึง การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม การประพฤติตนเป็นผู้มีสามัคคีธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. ร่วมกันคิด ช่วยกันวางแผน และร่วมกันทำงานด้วยความเต็มใจ
          ๒. ร่วมกันรับผิดชอบ ทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ
          ๓. ร่วมกันติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
          ๔. ร่วมกันปรับปรุง มีการแก้ไข พัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ
          ๕. ร่วมกันทำงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
๓. ปัญญาธรรม หมายถึง การใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต การประพฤติตนเป็นผู้มีปัญญาธรรม ปฎิบัติได้ ดังนี้
          ๑. มีความคิดกว้างไกล โดยรับฟังข่าวสารและความคิดเห็นของผู้อื่น
          ๒. ใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่นำอารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ตัดสินปัญหา
          ๔. รู้จักการคิด มีการวิเคาระห์ วิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล
          ๓. แสดงความคิดเห็น โดยปราศจากอคติ

          ๕. รู้จักโต้แย้งด้วยเหตุผล ถ้ามีการโต้แย้งในหมู่คณะให้ใช้เหตุผล และสติปัญญาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับฟัง ไม่ใช้อารมณ์มาเป็นตัวตัดสิน
ปัญหาความสำคัญของคุณธรรม และจริยธรรมที่กล่าวมานี้ ประเด็นที่สำคัญก็คือ สามารถลดปัญหา และขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคล สังคม และ

ประเทศชาติได้ เมื่อทุกคนประพฤติปฏิบัติตนดีแล้ว อุปสรรค ศัตรู ภัยอันตราย ก็จะหมดสิ้นไป ผู้คนมีแต่ความรักต่อกัน สังคมมีแต่ความสงบ และประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรือ

ติวศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม

สาระพระพุทธศาสนา


ตัวอย่างแบบทดสอบ

1.องค์ประกอบที่มีปรากฏอยู่ในศาสนาสำคัญในปัจจุบันคือข้อใด
            1.  ศาสนาและนักบวช                                         2.   รูปเคารพและศาสนสถาน
            3.  นักบวชและศาสนพิธี                                      4.    ศาสนพิธี และหลักคำสอน
2.พิธีที่ชาวคริสต์นิกายโรมันคาทอลิดกินขนมปังและดื่มไวน์ในบาทหลวงส่งให้เรียกว่าพิธีอะไร
            1. ศีลกำลัง                     2. ศีลแก้บาป                  3.  ศีลล้างบาป                4. ศีลมหาสนิท
3.ความรัก ความเมตตาระหว่างเพื่อนมนุษย์ เป็นหลักธรรมสำคัญของศาสนาใด
            1. ศาสนาอิสลาม          2. ศาสนาคริสต์               3.  ศาสนาฮินดู               4. พระพุทธศาสนา
4.ในการละหมาด ชาวมุสลิมในประเทศไทยจะต้องทำอย่างไร
            1.  ต้องกระทำตั้งแต่จำความได้เป็นต้นไป                2.  ต้องกระทำโดยหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
            3.  ต้องกระทำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งคือเช้าและเย็น  4. ต้องกระทำในมัสยิดหรือในศาสนสถาน
5. “บุคคลใดมีใจบริสุทธิ์ก็เป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้เห็นพระเจ้า”  เป็นพระธรรมเทศนาของศาสดา            องค์ใด
            1. โมเสส                       2. พระเยซู                     3.  มหาวีระ                    4.  มูฮัมมัด
6.การทำลายล้าง การสร้าง และคุ้มครองโลกกับจักรวาลเป็นบทบาทของเทพองค์ใดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
            1. พระพรหม     2. พระศิวะ                    3.  พระนารายณ์             4. พระตรีมูรติ
7.ข้อใดไม่ตรงกับปรมาตมัน
            1. พรหมัน                     2. โมกษะ                      3.  ชีวาตมัน         4. วิญญาณสากล
8.การแบ่งแยกนิกายต่างๆ ในศาสนาอิสลาม เกิดจากสาเหตุข้อใดเป็นสำคัญ
            1.  ความเชื่อว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า                      
            2.   ความคิดแตกต่างกันทางการเมืองเกี่ยวกับผู้นำในศาสนา
            3.  ความแตกต่างกันทางด้านสังคม  เชื้อชาติ และวัฒนธรรม                                      
            4.   ความแตกต่างกันทางด้านภูมิประเทศ ภาษาและสิ่งแวดล้อม 
9.ศาสนาใด สอนว่า “ถ้าเขาตบแก้มขวา จงเอียงแก้มซ้ายให้เจาตบ”
            1. ศาสนาฮินดู    2. ศาสนาอิสลาม             3.  ศาสนาคริสต์              4. พระพุทธศาสนา
10.คำสอนของพระเยซู ไม่เน้น เรื่องใด
            1. การทำพิธีกรรมบูชาพระเจ้า                               2.   จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
            3.  ความรักในพระเจ้าและเพื่อนมนุษย์                   4.    การเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน

ขอบคุณข้อมูล : https://chaiyanann.wordpress.com/

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไปลุยเศรษฐศาสตร์กันเลย


เนื้อหาเศรษฐศาสตร์
วิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมในการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อผลิตสินค้าและบริการต่างๆ สนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

ติวสอบประวัติศาสตร์สากล


เนื้อหาประวัติศาสตร์สากล
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก

ติวสอบประวัติศาสตร์ไทยเน้นๆ


เนื้อหาประวัติศาสตร์ไทยเน้นๆ
ประวัติศาสตร์เกิดจากความมีสามัญสำนึกของมนุษย์อันเป็นคุณลักษณะที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่นมนุษย์ผูกพันกับประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิด  จนไม่อาจจะแยกจากกันได้นั้น คือจะพยายามเรียนรู้และเข้าใจตนเอง โดยมีประวัติศาสตร์เป็นเครื่องนำทางมุ่งศึกษาพฤติกรรมมนุษย์แล้วให้ความ สำคัญแก่ช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือพฤติกรรมนั้นๆ มาก คนทั่วไปมักจะมีความเข้าใจว่าประวัติศาสตร์คือ  อดีต”  หรือ  ส่วนหนึ่งของอดีต” แต่ในความเป็นจริงนั้น “อดีต”  ก็คือ  เรื่องราวต่างๆ ที่ผ่าน” และ  ส่วนหนึ่งหรือเสี้ยวเล็กๆ เสี้ยวหนึ่งของอดีต” จะเป็นประวัติศาสตร์ได้ก็ต่อเมื่อนักประวัติศาสตร์ สนใจและเห็นความสำคัญ มีประโยชน์ ต่อมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ คือ การสืบสวนสอบสวนค้นคว้า เรื่องราวของมนุษย์ในอดีตและเรื่องราวนั้นมีผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม

ปอกข้อสอบพระพุทธศาสนา

ปอกข้อสอบพระพุทธศาสนา